โครงการ “ประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง” Strengthening urban climate governance for inclusive, resilient and sustainable societies in Thailand (SUCCESS) ได้รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรป European Union (EU) โดยความร่วมมือกับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย Thailand Environment Institute Foundation (TEI) ศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ (ศปส.) Center for Civil Society and Nonprofit Management – (CSNM) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมูลนิธิชุมชนสงขลา จัดกิจกรรมประชุมใหญ่ประจำปี 2567 ในวันที่ 25-27 มิถุนายน 2567 ณ จังหวัดขอนแก่น เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนและผลักดันให้เกิดการบูรณาการแนวปฏิบัติและแนวทางในการจัดการผลกระทบ ความเปราะบาง และการรับมือเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนการพัฒนาเมืองและสังคมที่เป็นธรรม เข้าสู่การวางแผนระดับท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับพื้นที่ ระดับจังหวัด และระดับชาติ
“เมือง ทำไมต้องปรับตัว ทำไมชุมชนเมืองต้องเตรียมตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” โดย ดร. ผกามาศ ถิ่นพังงา ผู้อำนวยการโครงการฯ กล่าวว่า การพัฒนาเมืองเป็นเรื่องของทุกคนที่ต้องมีส่วนร่วมและมีบทบาท การขับเคลื่อนในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพราะทุกคนจะต้องได้รับผลกระทบ ทำอย่างไรให้ชุมชนมีความสามารถในการปรับตัวปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตปรับเปลี่ยนแนวความคิดหรือมีแผนนโยบายในการพัฒนาเมือง จะมีส่วนร่วมอย่างไร ทำอย่างไรให้มีกลไกตรงนี้ ประเด็นสำคัญคือสิทธิการเข้าถึงทรัพยากรของประชาชน การประชุมครั้งนี้ จึงมีการแลกเปลี่ยนเพื่อเชื่อมโยงกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงว่าจะมีแนวทางร่วมกันในการแก้ปัญหาอย่างไร
สถานการณ์ระดับประเทศ การเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดย ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย กล่าวว่า ‘Earth Overshoot Day’ เมื่อใช้ทรัพยากรธรรมชาติเกินขีดจำกัดที่สามารถสร้างใหม่ได้เทียบเท่ากับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติของโลก 1.7 ใบ ปัญหาด้านเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นปัญหาคลื่นลูกใหม่ที่จะส่งผลกระทบอย่างมากในอนาคตสถานการณ์ตอนนี้เข้าสู่ภาวะโลกเดือดแล้ว เราจะลดอย่างไรและจะอยู่อย่างไร ประเทศไทยอยู่อันดับ 9 ของโลกที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งจากสถานการณ์เราจะอยู่ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร
สถานการณ์ระดับภูมิภาคทิศทางอนาคต “สถานการณ์การพัฒนาเมืองในปัจจุบันสู่อนาคต ความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แนวทางการสร้าง urban climate resilience และการปรับตัว ( climate adaptation)” ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดย ศ.ดร.บัวพันธ์ พรหมพักพิง กล่าวว่ากิจกรรมมุ่งจะใช้ Platform ขับเคลื่อนภาคประชาสังคม มีการประเมินความเปราะบางและจัดทำโครงการยุทธศาสตร์นำร่อง 3 ประเด็นสำคัญประกอบด้วย สิทธิต่อเมือง (Right to the city) ที่มีปัญหาการต้องย้ายที่อยู่อาศัยจากนโยบายการทำเส้นทางรถไฟ การปกครองเมืองเมืองแบบร่วมมือของพหุภาคี (Multi-stakeholder collaborative governance) ที่มีปัญหาจากการขยายของเมืองและน้ำท่วมซ้ำซาก และเมืองบนฐานระบบนิเวศ (ecosystem-based solutions) ที่มีปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภาคใต้ เสนอโดย นายชาคริต โภชะเรือง เลือกพื้นที่จากเมืองหลักและเมืองรอง มีเรื่องของการท่องเที่ยว มีการเชื่อมโยงกับเครือข่ายต้นน้ำกลางน้ำปลายน้ำ โดยชวนภาคประชาสังคมในพื้นที่ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำ-รูปแบบการเปลี่ยนแปลง อุณหภูมิที่สูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงของคลื่นลม และน้ำทะเล ใช้เรื่องของการทำมาหากินเป็นการเชื่อมโยง สร้างความร่วมมือ ศึกษา/เก็บข้อมูลโดยชาวบ้านเพื่อให้รู้ปัญหาของตัวเอง ทำอย่างไรให้องค์กรประชาชนได้มีส่วนร่วมในการปรับตัว และเข้าถึงทิศทางของการพัฒนา
“การส่งมอบข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อนำสู่ปฏิบัติการเตรียมความพร้อม ปรับตัว รับมือ ของชุมชนและเมือง ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม โดยประชาชนและระบบนิเวศเป็นศูนย์กลาง” ให้กับองค์กรหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง โดย ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และคณะทำงานโครงการประชาสังคมร่วมแรงเปลี่ยนแปลงเมือง ซึ่งมีข้อเสนอสำคัญ ดังนี้ จัดทำผังเมืองและแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน ที่สอดคล้องกับผังเมืองรวมจังหวัด หรือเสนอให้มีการปรับปรุงผังเมืองจังหวัด ให้สอดคล้องกับความเป็นจริงมากยิ่งขึ้น, เมืองสามารถจัดการภัยพิบัติ มีการป้องกันอุทกภัย พัฒนาระบบเตือนภัย, การจัดทำแผนการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน, การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารและช่องทางการสื่อสาร, การจัดการความรู้และพัฒนาศักยภาพคน องค์ความรู้ สร้างตระหนักของข้อมูล มีหลักสูตรการจัดการภัยพิบัติ แสวงหาความร่วมมือทางวิชาการ
“เวทีเสวนาเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนและผลักดันให้เกิดการบูรณาการแนวปฏิบัติและแนวทางในการจัดการผลกระทบ ความเปราะบาง และการรับมือเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนการพัฒนาเมืองและสังคมที่เป็นธรรม” ในการประชุมยังมี 4 เวทีเสวนาสำคัญ ดังนี้ ความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ให้ความสำคัญกับคนเป็นศูนย์กลางการขับเคลื่อน, “เมืองกับการปรับตัว (climate adaptation)” และ “การปรับตัวโดยยอาศัยระบบนิเวศเป็นฐาน ( e c o s y s t e m – b a s e d adaptation)” “บทบาทของภาคประชาสังคม กับการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ของเมืองและชุมชนอย่างเป็นธรรม”, “บทบาทภาควิชาการในการสนับสนุนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate adaptation)ด้วยข้อมูลวิทยาศาสตร์ เครื่องมือ และเทคโนโลยี เพื่อหนุนเสริมชุมชนและท้องถิ่น” และบรรยายพิเศษนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate policy) เพื่อความเป็นธรรมด้านภูมิอากาศ (climate justice)
การศึกษาดูงานในพื้นที่เมืองบ้านไผ่ : ระเบียงถนนมิตรภาพ บ้านไผ่ สู่พื้นที่ พัฒนา TOD (Transit Oriented Development) คือ การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าหรือระบบขนส่งมวลชนสู่อุตสาหกรรม โดยลงพื้นที่ศึกษาดูงานหนึ่งในพื้นที่นำร่องในโครงการฯ เมืองบ้านไผ่ มีการพัฒนาเมืองจากการสร้างรถไฟ ชุมชนที่อยู่เดิมต้องอพยพออกจากพื้นที่ไปอยู่ที่อยู่ใหม่ ผลกระทบด้านอาชีพและรายได้ ปัญหาสุขภาพ เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป แนวทางในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาเมือง โดยมีระบบการแจ้งเตือนภัย การแก้ไขปัญหา เช่น โครงการบ้านมั่นคง ความร่วมมือของภาคประชาชนและภาคเอกชน
สรุปและปิดการประชุม โดย ดร.จำเนียร วรรัตน์ชัยพันธ์ และ ผศ.ดร.ยรรยงค์ อินทร์ม่วง คณะกรรมการที่ปรึกษาระดับชาติ การทำงานต้องมีการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงและวางแผนการทำงานอย่างต่อเนื่อง ชาวบ้านต้องลุกขึ้นมาเพื่อขับเคลื่อนการรับมือและสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้น เราต้องทำอย่างไรให้ชุมชนเข้มแข็งซึ่งเป็นการให้ความเป็นธรรมให้กับชุมชน มีภาคียุทธศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้อง และองค์กรภาคเอกชนองค์กรภาคประชาสังคมต้องให้ความเคารพให้ความเชื่อมั่นว่าจะสามารถขับเคลื่อนไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้ ต้องมีการออกแบบเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงร่วมกัน เช่น การวางนโยบายของชาติ แผนชาติ แผนสภาพัฒน์ เราจะออกแบบอย่างไรภายใต้ความท้าทาย การออกแบบต้องมีเครื่องมือ เช่น กฎหมาย พรบ. เทศบัญญัติ ธรรมนูญชุมชน
“คำสงวนสิทธิ์: เอกสารเผยแพร่โครงการ SUCCESS จัดทำขึ้นโดยได้รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรป ซึ่งทีมงานโครงการ SUCCESS ภายใต้ (CSNM) มีหน้าที่รับผิดชอบเนื้อหาทั้งหมด โดยเนื้อหาดังกล่าวไม่จำเป็นต้องสะท้อนมุมมองของสหภาพยุโรป”
โ