“โครงการประชาสังคมร่วมแรงเปลี่ยนแปลงเมือง ภาคอีสาน ประชุมหารือเชิงนโยบาย (Policy dialogues) เพื่อเตรียมความพร้อมของเมืองกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาคอีสาน”

โครงการ “ประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง” Strengthening urban climate governance for inclusive, resilient and sustainable societies in Thailand (SUCCESS) ได้รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรป European Union (EU) โดยความร่วมมือกับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย Thailand Environment Institute Foundation (TEI) และศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ (ศปส.) Center for Civil Society and Nonprofit Management – (CSNM) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับมูลนิธิชุมชนอีสาน จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน (SLD) ภาคอีสาน

ประชุมหารือเชิงนโยบาย (Policy dialogues) เพื่อเตรียมความพร้อมของเมืองกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาคอีสาน ในวันที่ 25-26 เม.ย. 67

โครงการประชาสังคมร่วมแรงเปลี่ยนแปลงเมือง ภาคอีสาน ได้ดำเนินการประเมินความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเมืองนำไปสู่การออกแบบยุทธศาสตร์และกิจกรรมที่จะนำไปสู่การปรับตัวรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 1) ยุทธศาสตร์เรื่องสิทธิ (right-based strategies) มาจากโครงการก่อสร้างทางรถไฟ ทางรถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูง ก่อให้เกิดปัญหาเรื่องสิทธิเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่อาศัย และสิทธิในการมีส่วนร่วมในการติดสินในในเรื่องการจัดการปกครองเมือง (urban governance) กลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบได้แก่ ผู้อยู่อาศัยในแนวการก่อสร้าง ของเมืองบ้านขอนแก่น บ้านไผ่ 2) ยุทธศาสตร์เรื่องพหุภาคีการจัดการปกครองเมือง (Multi-stakeholders urban governance) โดยเมืองสองเมืองในอุดรธานี เมืองหนองสำโรงเผชิญปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก ส่วนเมืองสามพร้าว เป็นพื้นที่เมืองเกิดใหม่ 3) ยุทธศาสตร์การสร้างนิเวศอย่างยังยืน (ecosystem-based strategies) พื้นที่หนองคาย โดยเมืองโคกแมงเงาเป็นพื้นที่ชานเมืองที่กลายสภาพเป็นเมือง ส่วนชุมชนสระใคร รัฐมีแผนที่จะใช้พื้นที่ดินป่าชุมชน ไปใช้ประโยชน์เป็นพื้นทีของเขตเศรษฐกิจพิเศษ

กลุ่มเป้าหมายในการประชุม จะมีความเชื่อมโยงกับประเด็นยุทธศาสตร์ที่กล่าวมานี้ ประกอบด้วย กลไกประชาสังคมในพื้นที่ แกนนำชุมชน นักวิชาการจากสถาบันวิชาการ ที่เป็นแกนนำในการทำกิจกรรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ หน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง อาทิ โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด แขวงทางหลวงหนองคาย กรมทางหลวง สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) คณะกรรมการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนเมือง เทศบาลนครขอนแก่น

กิจกรรมสำคัญ ประกอบด้วย ศ.ดร.บัวพันธ์ พรหมพักพิง ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ หัวหน้าโครงการ SUCCESS อีสาน กล่าวถึงความสำคัญเตรียมความพร้อมของเมืองกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาคอีสาน ซึ่งโครงการฯ ขับเคลื่อนกิจกรรมมาแล้วกว่า 4 ปี จึงแห็นความสำคัญในการพัฒนายุทธศาสตร์ ข้อเสนอเชิงนโยบายสำคัญๆ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ร่วม ผ่านเวทีการนำเสนอข้อมูล แลกเปลี่ยนเติมเต็ม หาแนวทางร่วมกัน และมีบรรยายนำหัวข้อ “ความท้าทายด้านนโยบาย/แผนงาน/แนวทางและศักยภาพในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต” โดย สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดอุดรธานี

การหารือเชิงนโยบาย (Policy dialogues) โดย อาจารย์พูลสมบัติ นามหล้า ประธานมูลนิธิชุมชนอีสาน และอาจารย์ ดร.อนุวัฒน์ พลทิพย์ มหาวิทยาลัยนครพนม วิทยากรกระบวนการ โดย คณะทำงาน/แกนนำพื้นที่ นำเสนอบทเรียนจากการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และกิจกรรม และมีการตอบสนอง/เสียงสะท้อน ของหน่วยงานต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และมีการทบทวนข้อเสนอเชิงนโยบายฯ(ที่ปรับปรุงแล้ว) เพื่อนำไปสู่กระบวนการนำเสนอหรือขับเคลื่อนต่อไป

เวทีเสวนาภาคีที่เกี่ยวข้องกับการจัดเมือง และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดย
1) นายนิติ เจริญสุข นักผังเมืองชำนาญการ กลุ่มงานวิชาการผังเมือง สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดอุดรธานี พรบ.ผังเมือง พ.ศ.2562 กำหนดให้บทบาท อปท.ร่วมกับ ผังเมืองมีบทบาทในการจัดทำผังเมืองรวม โดยมีการมีส่วนร่วมประชาชน แต่การจัดทำมีหมายขั้นตอน แต่มีข้อจำกัดเรื่องความความรู้เรื่องผังเมือง ของท้องถิ่น ที่จะต้องช่วยกันพัฒนาต่อ
2) นายสมหมาย โคตรโสภา ผู้อำนวยการกองช่าง เทศบาลเมืองหนองสำโรง ท้องถิ่นพร้อมในการจัดการแก้ไขปัญหาประชาชน โดยหากเรื่องผังเมืองมีการทำให้ชัดเจนหรือสะดวก หรือง่ายมากขึ้น ท้องถิ่นพร้อมขับเคลื่อนต่อ
3) นายจีระศักดิ์ ตรีเดช นายกสมาคมเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาเทือกเขาเพชรบูรณ์ (สอพ.) ผังเมืองเป็นเรื่องของทุกคน ดังนั้นยุทธศาสตร์และข้อเสนอเชิงนโยบายเตรียมความพร้อมของเมืองกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จึงควรเริ่มจากพื้นที่ด้วย มีข้อตกลงร่วมกันที่จะปรับตัวหรือแก้ไขปัญหา ร่วมกับนโยบายระดับต่างๆ

ผศ.ดร.ยรรยงค์ อินทร์ม่วง ที่ปรึกษาโครงการฯ ระดับชาติ (National Advisory Committee ) สรุปและปิดการประชุมฯ ข้อเสนอเชิงนโยบายฯ ที่เกิดจาการหารือเชิงนโยบาย (Policy dialogues) ถือว่าได้ข้อมูลสำคัญที่ควรนำไปขับเคลื่อนต่อ โดยเสนอแนวทางการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย ส่งถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดให้เกิดการรับทราบและติดตามข้อเสนอฯ อีกแนวทางคือผลักดันให้เกิดวงหรือเวทีพูดคุย ร่วมกับผู้มีส่วนสำคัญในการตัดสินใจเชิงนโยบาย ทั้งระดับท้องถิ่น ระดับหน่วยงาน ระดับจังหวัด จึงจะนำไปสู่การผลักดันและต่อยอดต่อไป

“คำสงวนสิทธิ์: เอกสารเผยแพร่โครงการ SUCCESS จัดทำขึ้นโดยได้รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรป ซึ่งทีมงานโครงการ SUCCESS ภายใต้ (CSNM) มีหน้าที่รับผิดชอบเนื้อหาทั้งหมด โดยเนื้อหาดังกล่าวไม่จำเป็นต้องสะท้อนมุมมองของสหภาพยุโรป”

    

   

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *